ข้ามไปเนื้อหา

พายุไต้ฝุ่นยางิ (พ.ศ. 2567)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไต้ฝุ่นยางิ
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นเอนเตง
พายุไต้ฝุ่นยางิขณะมีกำลังแรงสูงสุดทางตอนเหนือ
ทะเลจีนใต้เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2567
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ก่อตัว31 สิงหาคม พ.ศ. 2567
สลายตัว8 กันยายน พ.ศ. 2567
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA)
ความเร็วลมสูงสุด195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 27.02 นิ้วปรอท
พายุไต้ฝุ่น
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD)
ความเร็วลมสูงสุด195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 27.02 นิ้วปรอท
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC)
ความเร็วลมสูงสุด260 กม./ชม. (160 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด916 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 27.05 นิ้วปรอท
ผล��ระทบ
ผู้เสียชีวิต> 403 ราย
ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ> 1,068 ราย
ผู้สูญหาย> 148 ราย
ความเสียหาย$9.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงินปี พ.ศ. 2567 USD)
พื้นที่ได้รับผลกระทบฟิลิปปินส์, เวียดนาม, ไหหลำ,
ฮ่องกง, ภาคตะวันออกของไทย,
ภาคเหนือของไทย
IBTrACS

ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2567

พายุไต้ฝุ่นยางิ (อักษรโรมัน: Yagi)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นเอนเตง (ตากาล็อก: Enteng)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกใหญ่กำลังแรง ที่กำลังสร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับภาคเหนือของประเทศเวียดนาม หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ส่งผลกระทบต่อเกาะไหหลำของจีนในช่วงต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2567 เป็นพายุลูกที่ 11 ของฤดูพายุในปีนี้ และเป็นพายุลูกแรกที่รุนแรงมาก ยางิกลายเป็นพายุที่รุนแรงที่สุดที่พัดเข้าสู่เกาะไหหลำในฤดูใบไม้ร่วง นับตั้งแต่รามสูรในปี 2557 และเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ลำดับที่ 4 ที่เกิดขึ้นในทะเลจีนใต้ ร่วมกับพายุแพเมล่าในปี 2497, รามสูรในปี 2557 และไรในปี 2564

พายุไต้ฝุ่นยางิมีจุดเริ่มต้นจากบริเวณความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ห่างจากประเทศปาเลาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 540 กิโลเมตร

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา

[แก้]
แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
■ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
▲ พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน

พายุไต้ฝุ่นยางิเริ่มต้นก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม โดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นรายงานว่าพบบริเวณความกดอากาศต่ำห่างจากประเทศปาเลาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 540 กิโลเมตร[1][2] บริเวณความกดอากาศต่ำขนาดใหญ่เริ่มรวมตัวกันและพัฒนาเป็นพายุดีเปรสชันเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม[3]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. "ยางิ" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 1 ลำดับที่ 19 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศญี่ปุ่น
  2. พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "เอนเตง" (2 ถึง 3 กันยายน พ.ศ. 2567) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Warning and Summary 301800 (Report). Tokyo, Japan: Japan Meteorological Agency. August 30, 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 30, 2024. สืบค้นเมื่อ August 30, 2024.
  2. Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Oceans, 06Z 31 สิงหาคม 2567 (Report). United States Joint Typhoon Warning Center. 31 สิงหาคม 2567. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 สิงหาคม 2567. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2567. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. Warning and Summary 310000 (Report). Tokyo, Japan: Japan Meteorological Agency. August 31, 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 31, 2024. สืบค้นเมื่อ August 31, 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]